HISTORY

ประวัติความเป็นมา

Edit Content

ยุคแรก

สวนลุมพินี - สวนอัมพร ครั้งที่ 1 - 18

ประสบการณ์ที่เป็นความสำเร็จจากการเป็นเจ้าของ นิตยสารกรังด์ปรีซ์ ที่โด่งดังที่สุด สู่แนวความคิดที่จะเป็นผู้จัดงานมอเตอร์โชว์ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย “ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา” จัดงานมอเตอร์โชว์ขึ้นครั้งแรก ภายใต้ชื่อ MOTOR SHOW ‘79 โดยยึดเอาพื้นที่เพียง 16,200 ตารางเมตร เปิดตำนานมอเตอร์โชว์เมืองไทย เมื่อวันที่ 2-6 พฤษภาคม 2522 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเปิดงาน ซึ่งครั้งนั้นได้รวบรวมรายได้จากบัตรผ่านประตูราคา 3 บาท มอบให้ “มูลนิธิดวงประทีป

ครั้งแรก

ก็มองเห็นเส้นทางแห่งความสำเร็จที่ได้รับการต้อนรับจากบริษัทรถยนต์และคนไทยอย่างคับคั่ง

ครั้งที่ 2

ต้องย้ายสถานที่มาจัดที่สวนอัมพร ซึ่งมีพื้นที่ ที่สามารถทำให้ภาพลักษณ์ ทัดเทียมมอเตอร์โชว์ระดับโลก สิ่งสำคัญ และเป็นมงคลยิ่ง คือการได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานพระราชานุญาต ให้นำรถยนต์พระที่นั่งมาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน ให้ประชาชน นับล้านคนที่มาร่วมชมงาน ได้ชื่นชมตลอดการจัดงาน ตั้งแต่วันที่ 12-16 พฤศจิกายน 2523 และที่น่าสนใจยิ่ง การนำเอารถยนต์ที่เป็นสุดยอดเทคโนโลยีจาก บริษัทมาจัดแสดงให้ชมกัน ถือเป็นการเปิดเส้นทางแห่งงานมอเตอร์โชว์ มาจนถึงทุกวันนี้

ครั้งที่ 4

จึงยึดเอาสวนอัมพรเป็นสถานที่จัดงานเรื่อยมา พร้อมการ เพิ่มวัน จาก 5 วัน เป็น 7 วัน รวมถึงการเริ่มต้นการนำเข้ารถยนต์ต้นแบบหรือ Concept Car ที่เป็น พัฒนาการ เทคโนโลยีแห่งอนาคตมาจัดแสดงให้ชมกัน และที่ยังเป็นความสนใจ ของผู้ชมงาน คือรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ของแต่ละบริษัทที่ไม่ยอมน้อยหน้ากัน

ครั้งที่ 5

เปลี่ยนชื่องานเป็น Bangkok Motor Showโดยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และราชยานยนต์สมาคม แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และเพื่อความเป็นสากล จึงได้เพิ่มคำว่า International จนเป็นความสมบูรณ์ของงานมอเตอร์โชว์ระดับโลก คือ Bangkok International Motor Show มอเตอร์โชว์หนึ่งเดียวของประเทศไทยในการจัดงานครั้งที่ 17
งานย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เป็นอินเตอร์มากขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศการจัดงาน ที่มีการนำเรือมาจอดโชว์ในสระนํ้าหน้าอาคารใหญ่ หรือการจัดแสดงของเครื่องเสียงติดรถยนต์ รวมถึงขบวนแรลลี่ที่เป็นเสมือน ประเพณีของงาน และที่ยังเป็นพระเอกของงานก็คือ รถต้นแบบ และรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่แต่ละบริษัทรถยนต์คัดสรรมาแสดงให้ชมกันและที่ไม่ยอมแพ้กันก็ค่ายรถจักรยานยนต์ ที่นำรถรุ่นใหม่ ๆ ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี ก็ถูกนำมาเสนอ พร้อมมุมบันเทิงต่าง ๆ อีกมากมายพัฒนาการของการจัดงานเติบโตควบคู่กับการก้าวลํ้าแห่งเทคโนโลยียานยนต์ ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งทำให้งานมอเตอร์โชว์เมืองไทยได้รับการกล่าวขวัญ ถึงอย่างมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปีนี้ทางคณะผู้จัดได้จัดให้มีการประกวด มิสมอเตอร์โชว์ ที่เปิดโอกาสให้สาวสวยผู้มีความรู้ความสามารถเข้าประกวด เพื่อทำหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ภายในงานตลอดระยะเวลาการจัดงาน และยังมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมายภายในบริเวณงาน
บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ยังคงจัดงานอยู่ที่สวนอัมพรจนถึงครั้งที่ 18“ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา” มองการเติบโตของงานอย่างเป็นกังวลเรื่องสถานที่ ที่นับปีจะเริ่มเล็กลง เมื่อเทียบกับการเติบโตของงาน การเติบโตของเทคโนโลยียานยนต์ และจำนวนผู้เข้าชมงานที่ผ่านจากหลักแสนคนสู่หลักล้านคน แนวคิดจะโยกย้ายสถานที่จึงเกิดขึ้นอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ การจัดงานครั้งที่ 19 จึงได้ย้ายจากสวนอัมพร สู่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา บนพื้นที่ 30,800 ตารางเมตร ที่มีลักษณะเป็นพื้นที่จัดงานแสดงที่มีมาตราฐานสูง และเหมาะสมอย่างยิ่งกับการจัดงานมอเตอร์โชว์ระดับโลก ตำนานแห่งการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ กับ “สวนอัมพร” จึงปิดฉากลงแค่การจัดงานครั้งที่ 18 เมื่อปี พ.ศ. 2540 และนับจากครั้งที่ 19 คือการเข้าสู่ยุคที่ 2 ของมอเตอร์โชว์ต่อไป
Edit Content

ยุคที่ 2

ไบเทค บางนา ครั้งที่ 19 - 31

การตัดสินใจของ ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยมมากเพราะประเทศไทยเมื่อปี 2540 เป็นสถานการณ์แห่งต้มยำกุ้งที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจในทุกมุมโลก จึงมีเสียงคัดค้านจากทีมงานด้วยความห่วงใยสถานการณ์ แต่ “ดร.ปราจิน” กลับพลิวิกฤติให้เป็นโอกาส เพราะงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์คือส่วนผสมแห่งความสำเร็จของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย การจัดงานในสถานที่ที่โอ่อาสมศักดิ์ศรี แม้จะมีปัญหาบ้าง แต่ก็คุ้มค่าอย่างยิ่งกับการเติบโตในครั้งต่อๆ มา
สิ่งสำคัญการมีพื้นที่จัดงานที่ได้มาตรฐาน ยิ่งทำให้พัฒนาการของงานก้าวล้ำมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานมอเตอร์โชว์เมืองไทย มีเกลักษณ์เฉพะที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นการประกวดมิสมอเตอร์โชว์ การประกวดมิสพรีเซ็นเตอร์ ที่เสมือนการให้ความสำคัญกับการพรีซนต์ถึงความสุดยอดแห่งเทคโนโลยียานยนต์ ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ยิ่งการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รอบ ๆบริเวณงาน การที่บริษัทต่าง ๆ ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งในการค้ดเลือกรถยนต์ที่จะนำมาจัดแสดง การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ องค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้ คือบทพิสูจน์ความเป็นงานมอเตอร์โชว์ระดับโลก ที่ก้าวสู่ความเป็นอินเตอร์เนชั่นแนลอย่างสมบูรณ์แบบ

ครั้งที่ 19

ย้ายมาจัดงานที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนาได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การจัดบูธที่เป็นพื้นที่แสดงทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์การให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งของทุกบริษัทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมถึงพื้นที่จัดแสดงอุปกรณ์ตกแต่งต่าง ๆ ก้าวล้ำสู่ความเป็นมอเตอร์โชว์ระดับโลก และยังเป็นการสนับสนุนให้ทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ก้าวหน้าสู่ความเป็นดีทรอยต์ออฟเอเชียอีกด้วย

ครั้งที่ 26

งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์ ก็ได้รับการบรรจุลงใน “ปฏิทินงานแสดงรถยนต์ระดับนานาชาติ”โดยการรับรองโดย OICA หรือองค์กร ซึ่งดูแลเกี่ยวกับการจัดแสดงรถยนต์ทั่วโลก ภายใต้การจัดงานของ ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา
ความสำเร็จที่ชัดเจนอีกด้านก็คือ ผู้เช้าชมงานที่มีมากกว่า 2 ล้านคนการได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนจากต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาทำข่าวเพิ่มขึ้นทุกปี พัฒนาการที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากทีมงานผู้จัดงานที่ต้องเดินทางศึกษาดูงานจากงานมอเตอร์โชว์จากต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนให้งานบางกอกอินเตอร์นชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ก้าวทันและทัดเทียมงานระดับโลกอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นงานโตเกียว มอเตอร์โชว์, แฟรงก์เฟิร์ตมอเตอร์โชว์ เป็นต้น จนทำให้ทีมงานมีความเชี่ยวชาญการจัดงานมอเตอร์โชว์ระดับโลกไปด้วย แน่นอน…สิ่งที่ทีมงานบางกอก อินเตอร์นชั่นแนล มอเตอร์โชว์เติบโตอยู่ตลอดเวลา ทำให้ “ผู้จัดงาน” มิอาจหยุดพัฒนาด้วยเช่นกัน ดังนั้นในการจัดงานครั้งที่ 32 หลังจากจัดงานอยู่ที่นี่มา 14 ปี จึงตัดสินใจย้ายสู่อิมแพ็ค เมืองทองธานี สถานที่จัดงานที่สามารถรองรับการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอีก และนี่คือการก้าวสู่ยุคที่ 3 ของการจัดงานมอเตอร์โชว์แห่งประเทศไทย
Edit Content

ยุคที่ 3

ชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ครั้งที่ 32 - ปัจจุบัน

การตัดสินใจย้ายการจัดงานบางกอก อินเตอร์นชั่นแนล มอเตอร์โชว์ จากศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา มาเป็น ชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานีก็ด้วยองค์ประกอบความพร้อมของสถานที่ที่มีพื้นที่จัดงานถึง 140,000 ตารางเมตร บนพื้นที่เดียวกัน และมาตรฐานที่เป็นสากลกว่า สิ่งสำคัญยิ่งของงานก็คือ การที่ทุกบริษัทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ต่างก็ให้ความสำคัญ ทั้งการจัดสุดยอดเทคโนโลยีแห่งยานยนต์ การนำรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ มาเปิดตัว และการนำเสนอรถต้นแบบ หรือ Concept Car คือบทพิสูจน์พัฒนาการของการจัดงานที่เป็นงานระดับโลกที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทแม่จากทั่วโลก
รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ร่วมสนับสนุนการเป็นมอเตอร์โชว์ระดับโลกสิ่งสำคัญนอกจาก ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา แล้ว “คุณเต้” จาตุรนต์ โกมลมิศร์ในฐานะผู้ดูแลการจัดงาน ยังพยายามเพิ่มศักยภาพของความเป็นมอเตอร์โชว์ประทศไทยเป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดประกวดมิสมอเตอร์โชว์ มิสพรีเซ็นเตอร์กิจกรรมการแสดงต่าง ๆ ที่มีให้ชมภายในงานตลอดระยะเวลา 12 วัน รวมถึงการจัดสถานที่ที่พร้อมจะจำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้ามาชมงาน ให้สามารถเดินชมงานได้อย่างสะดวกสบาย โดยเฉพาะพื้นที่สำหรับผู้เข้าชมงานกว้างกว่าปกติ
วันนี้…งานบางกอก อินเตอร์นชั่นแนล มอเตอร์โชว์ผู้เข้าชมงานจึงได้เห็นวิวัฒนาการการก่อสร้างบูธ ที่บางบริษัทเป็นการออกแบบจากบริษัทแม่ และเป็นรูปแบบเดียวกับงานมอเตอร์โชว์ใหญ่ ๆ ด้วยงบการก่อสร้างนับร้อยล้านบาท ที่สำคัญ ผู้จัดงานยังจัดงานคาร์ออฟเดอะเยียร์ เพื่อเป็นพลังใจสำหรับทุกบริษัทในการมอบรางวัลรถยนต์รุ่นต่าง ๆ อีกด้วย

ยุคที่ 3

งานบางกอก อินเตอร์นชั่นแนล มอเตอร์โชว์จึงประสบความสำเร็จอย่างสูงยิ่ง ภายใต้การจัดการของ ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา และทีมงานคุณภาพที่กำกับดูแลโดย “คุณเต้” จาตุรนต์ โกมลมิศร์ ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก นี่คือความภาคภูมิใจ ที่เป็นความสำเร็จของคนไทยผ่านเส้นทาง 3 ยุค ของมอเตอร์โชว์ระดับโลก ฝีมือคนไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top